สืบเนื่องจากบทความที่แล้วซึ่งเป็นการรักษาราชการแทนหรือรักษาการในตำแหน่งของการบริหารราชการส่วนกลาง คราวนี้เรามาดูการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นบ้างว่าเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร ซึ่งในที่นี้จะยกเอากรณีขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นตัวอย่าง กรณีการรักษาราชการแทนปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน มาตรา มาตรา 60/1 บัญญัติว่า ให้มีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบลรองจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบาย และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดหรือตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบล มอบหมาย
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล ( ข้อ 244 – 248)
ข้อ 244 ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ในกรณีที่ไม่มี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ให้รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหลายคน ให้ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแต่งตั้งรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ให้ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลในองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ไม่มีรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จะแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลในองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้
ข้อ 245 ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรง ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ให้ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลในกองหรือส่วนราชการนั้นคนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควรให้เป็น ผู้รักษาราชการแทนได้ แต่เพื่อความเหมาะสมแก่การรับผิดชอบการปฏิบัติราชการในกองหรือส่วน ราชการนั้น ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลอาจแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลคนใดคนหนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้
ข้อ 246 ให้ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่มีผู้ดำรงตำแหน่งใด หรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้นมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอำนาจ
ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทน มีอำนาจหน้าที่เป็นกรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในการรักษาราชการแทน หรือปฏิบัติราชการแทนด้วยแล้วแต่กรณี
ข้อ 247 การเป็นผู้รักษาราชการแทนตามที่กำหนดในประกาศนี้ ไม่กระทบกระเทือนอำนาจประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่จะแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลอื่น เป็นผู้รักษาราชการแทนตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมาย
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วยพ้นจากความเป็นผู้รักษาราชการแทนนับแต่เวลาที่ผู้ได้รับการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งเข้ารับหน้าที่
ข้อ 248 ในกรณีที่ตำแหน่งพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งอื่นว่างลงหรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ และเป็นกรณีที่มิได้มีการกำหนดไว้เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการแทนและการรักษาราชการแทน ให้ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจสั่งให้พนักงานส่วนตำบลที่เห็นสมควรโดยให้พิจารณาถึงความรู้ความสามารถ ความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อทางราชการสูงสุด ให้รักษาการในตำแหน่งนั้นได้
ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น
ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตามกฎหมาย หรือคำสั่งผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น เป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจหน้าที่ใด ก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้น ในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
จากตัวประกาศดังกล่าว จะเห็นได้ว่าได้ล้อมาจากราชการบริหารส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคทั้งสิ้น ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการรักษาราชการแทนหรือรักษาการในตำแหน่งของราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น อบจ.เทศบาล อบต.กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น เหมือนกับราชการส่วนกลางทุกประการ ฉนั้น ผู้ที่จะแต่งตั้งผู้ใดรักษาราชการแทนผู้ใดควรศึกษาระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ถี่ถ้วนก่อนลงมือดำเนินการ ไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะเสียใจภายหลังได้
ไม่น่าจะมีคุณสมบัติครบตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง นว.การศึกษา ครับ รอให้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าระดับ 3 ก่อนนะครับ
ท่านค่ะ ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชนสาารถเปิดกรอบได้หรือไม่ค่ะ
นายก อบต.มอบหมายให้หน.สน.ปลัด ทำบันทึกข้อความให้ผอ. กองคลังแต่งตั้งพนักงานจ้างตามภารกิจ ตำแหน่ง ผช.จพง.พัสดุ เป็น เจ้าหน้าที่พัสดุ กระทำได้หรือไม่คะ แล้วถ้าทำได้ จะต้องใช้คำว่า “ปฎิบัติหน้าทีแทน” หรือ “รักษาการแทน” หรือ “รักษาราชการแทน” คะ รบกวนด้วยนะคะ
ทำไม่ได้ครับ
ได้ครับ ถ้า ก.จังหวัดเห็นชอบ
ปลัดอบต. สามารถมอบหมายให้ รองปลัดอบต. เซ็นเช็ค เฉพาะเรื่อง. ได้หรือไม่ ทั้งๆ ที่ ปลัดก็ปฏิบัติหน้าที่อยู่ไม่ได้ไปไหน
สามารถทำได้ครับ
สอบถามค่ะ….ถ้ากรณีปัจจุบันมีตำแหน่งหัวหน้าสำนักปลัด และมีคนครอง นายก อบต.สามารถออกคำสั่งให้หัวหน้าส่วนอื่นมารักษาราชการแทนได้หรือไม่ค่ะ…(เนื่องจากนายก อบต.ให้แต่งตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงกับหัวหน้าสำนักปลัด จากกรณีหัวหน้าสำนักปลัดก้าวร้าวต่อผู้บังคับบัญชา)
ข้อ 1 ตามความเห็น ข้อ 244 หากไม่มีตำแหน่ง หัวหน้าส่วน หัวหน้ากอง ผู้อำนวยการกอง หรือที่เรียกชื่ออย่างอื่น..ก็ไม่สามารถแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลมีอยู่ ไปรักษาราชการแทนปลัดได้ ถูกต้องไหมครับ
ข้อ 2 ส่วนข้อ 245 บอกว่า ในกรณีที่ไม่มีดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออื่น ให้สามารถแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลในกองหรือส่วนราชการนั้นคนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควรให้เป็น ผู้รักษาราชการแทนได้ ถูกต้องไหมครับ..
เรียน ป.ปรีชา ครับ ผมอยากทราบว่านายกโดนคำสั่งตามมาตรา 44 ให้หยุดการปฏิบัติราชการ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 58 แต่นายกและคณะหมดวาระเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 58 แต่เปิดโอกาสให้รองนายกทั้งคณะให้ลาออกต่อสภา เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 58 โดยสมัครใจในวันเปิดประชุมสภา เพื่อเปิดโอกาสให้นายกคัดสรรรองนายกและคณะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่รักษาการใหม่ แต่เมื่อโดนคำสั่งแล้วเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานได้ทำคำสั่งย้อนหลังหรือกันคำสั่งไว้เผื่อให้ รองนายกและเลขานุการเข้ามาทำหน้าที่โดยมีผล วันที่ 23 มิ.ย. 58 ได้ด้วยหรือครับ ซึ่งกระผมเห็นว่าเป็นการล็อกฐานอำนาจไว้ซึ่งนายกมีส่วนผัวผันในการทุจริตในหน่วยงานและมีส่วนได้ส่วนเสียผลประโยชน์มากมายตามที่ประกาศและเป็นข่าวของหัวหน้าคณะ คสช. ในกลุ่มที่ 2 ซึ่งมองแล้วถ้ายังมีบทบาทอยู่เกรงว่าอาจจะทำให้ส่วนราชการเสียหายไปมากกว่านี้ จึงขอความอนุเคราะห์ข้อมูลด้วยครับ ส่วนตัวผมเองเห็นว่าเป็นการที่ไม่สมควร ควรที่จะให้หน่วยงานได้พ้นจากพันทนาการไปสักระยะหนึ่งเพื่อให้การทำงานได้มีความโปร่งใสขึ้นและยังส่งผลให้ภาพรักหน่วยงานดีขึ้นหลังจาก นายก พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว
ขออนุญาตสอบถามค่ะ
อยากทราบว่าปลัด อบต. จะมอบหมายให้รองปลัดทำหน้าที่เหมือนตนทำในบางกองได้เลยหรือไม่คะ โดยปลัดได้ทำบันทึกมอบหมายหน้าที่ให้เป็นการมอบหน้าที่ให้ทำขาดเลย เสมือนว่าปลัดทำเอง เช่นเซ็นต์หน้าฎีกาในนามปลัด อบต. อำนาจการตัดสินใจทุกอย่างในกองนั้นเป็นของรองปลัดเลย ทำได้หรือไม่คะ ซึ่งกรณีนี้ปลัดยังคงมาทำงานอยู่ทุกวันไม่ได้ไปไหนค่ะ
สามารถทำได้ครับ โดยทำเป็นคำสั่งมอบอำนาจปลัดให้รองปลัด
แต่งตั้งให้ หัวหน้าสำนักปลัด รักษาราชการแทน เจ้าหน้าที่พัสดุ ได้หรือไม่ กรณีที่ยังไม่มีหน.ส่วนการคลัง รักษาราชการแทน หน.ส่วนการคลัง เหมือนกันครับ หรือ ต้องแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลอื่น ที่ ไม่ใช่สายบริหารรักษาราชการแทนตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัสดุ
ขอรบกวนสอบถามปลัดหน่อยน่ะค่ะ ปัจจุบันเป็นนักวิชาการเงินและคลัง5 รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองคลังอยู่ค่ะ ตอนนี้ปลัดจะให้รักษาการหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุด้วย ปัจจุบันรองปลัดเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุอยู่ค่ะ โดยปลัดให้เหตุผลว่ามันเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการเงินอยู่แล้ว ให้คนอื่นออกมาทำงานอย่างอื่นแทน ขอความกรุณาปลัดให้แนวทางในการตอบคำสั่งปลัดด้วยค่ะ ด้วยที่ทำหน้าที่ผู้อำนวยการคลังก็มีงานที่เยอะมากอยู่แล้ว ถ้าต้องทำหน้าที่หัวหน้าพัสดุด้วย ยังไงก็คงเกิดความล่าช้าแน่ๆ และอธิบายให้ปลัดที่ อบต.ทราบแล้ว แต่ก็ยังยืนยันให้พ่วงตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุอยู่ดี ส่วนตัวรู้ดีว่าถ้ารับทั้ง2ตำแหน่งยังไงก็ทำไม่ทัน แต่เวลาอธิบายเหตุผลหัวหน้าไม่ฟังเลยค่ะ รบกวนปลัดช่วยแนะแนวทางด้วยน่ะค่ะ…ขอบคุณค่ะ
รบกวนถามป.ปรีชาเรื่องการสอบหัวหน้าส่วนสวัสดิการสังคมค่ะ
ว่าตอนนี้ดำรงตำแหน่งจนท.วิเคราะห์ฯ 6ว รักษาราชการแทนนักพัฒวันที่ 1 กันยายน 58 สามารถสอบนักบริหารงานสวัสดิการสังคม(หัวหน้าส่วนสวัสดิการสังคม)ได้หรือค่ะ
เรียนถามค่ะ ผอ.กองคลัง ต้องทำหน้าที่ ทั้งปลัดและนายก ต้องเขียนตำแหน่งอย่างไรถึงจะถูก
นาย………………
ผู้อำนวยการ……
รักษาราชการแทน ปลัดเทศบาล
ปฏิบัติหน้าที่นายก…………..
หรือ
นาย………………..
ผู้อำนวยการ……รักษาราชการแทนปลัด
ปฏิบัติหน้าที่ นายก………………….
รบกวนสอบถามหน่อยครับ
พอดีผมมีปัญหาเรื่องการทำสัญญาจ้าง คือผมได้รับงบประมาณในการซ่อมแซมถนนคอนกรีตเป็นจำนวนเงิน 200000 บาทแต่ด้วยการทำสัญญาผู้อำนวยการมีคำสั่งย้าย และผู้อำนวยการคนใหม่ยังไม่มา แต่ด้วยการทำสัญญาต้องรีบดำเนินการ อยากทราบว่ารักษาการมีอำนาจในการเซ็นต์ในสัญญาได้ไหมครับ และควรทำอย่างไร
ขอเรียนสอบถามครับผมเป็นพนักงานจ้างตามภารกิจสามารถเซนต์เอกสาร เช่นบันทึกอนุมัติ หรือในโครงการ ต่าง ๆ พนักงานจ้างตามภารกิจสามารถเซนต์ได้มั้ยครับ มีข้อกฏหมายรองรับหรือไม่ครับ
อยากถามว่า ถ้าปลัด อบต. ไปราชการ สามารถเซ็นต์เช็คได้มั้ย เพราะปลัดกับนายกต้องลงนามทุกครั้ง ได้มั้ย (ไม่ได้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทน)
สอบถามค่ะ ถ้าพนักงานในตำแหน่งฝ่ายปฏิบัติไปราชการ เหลือแต่ ผอ.กอง ต้องทำคำสั่งเพื่อแต่งตั้ง ผอ.กอง เพื่อรักษาราชการแทนลูกน้องอีกมั้ยค่ะ หรือว่าปฏิบัติหน้าที่ เซ็นงานให้ลูกน้องในกองตัวเองโดยปริยาย
เรียนสอบถามค่ะ จบป.ตรี บริหารธุรกิจ(สาขาการบัญชี) ป.โท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารท้องถิ่น) ปัจจุบันตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
แต่เนื่องจาก อบต.ที่สังกัดอยู่นี้มีตำแหน่งผู้อำนวยการกองการศึกษาฯและนักวิชาการศึกษาว่างทำให้ไม่มีข้าราชการในกองเลย และนายกได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนตำแหน่งนักวิชาการศึกษา คือให้มาทำงานนักวิชาการศึกษาเลย ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 59 ในลักษณะนี้จะสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งโดยความเห็นส่วนตัวและจากหลายฝ่ายเห็นว่าเป็นการมอบหมายงานที่ไม่ตรงตามสายงานลักษณะงานไม่เกื้อกูลกันและในการประเมินเพื่อเลื่อนระดับไม่สามารถนำงานที่ได้รับมอบหมายนี้ไปประกอบเป็นผลงานเพื่อประเมินสมรรถนะในการเลื่อนระดับได้ ถ้าเจอปัญหาแบบนี้ควรทำอย่างไรคะ
หัวหน้าสำนักปลัดให้นักวิเคราะห์นโยบายและแผนลงไปช่วยเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุเนื่องจากผู้ปฏิบัติอยู่เดิมทำการโอนย้าย เจ้าพนักงานธุรการที่มีอยู่ไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้เนื่องด้วยสาเหตุต่างๆ ขอสอบถามว่า
1.นักวิเคราะห์นโยบายและแผนสามารถไปปฏิบัติเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุของสำนักจนกว่าจะมีพนักงานโอนย้ายมาหรือบรรจุใหม่ได้ไม่ค่ะ
2.ระหว่างที่ไปปฏิบัติหน้าที่งานพัสดุจะไม่ได้ปฏิบัติงานวิเคราะห์นโยบายและแผน ถามว่าในช่วงที่ไม่ได้ปฏฺิบัติงานตามสายงานจะมีผลกับการประเมินหรือการทำผลงานเลื่อนระดับหรือไม่ค่ะ
3.เนื่องจากตำแหน่งดังกล่าวอยู่ต่างฝ่ายกันต้องให้เค้าทำหนังสือขอให้ไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ค่ะ
เรียนถาม ท่านปลัด ปรีชาครับ
ก่อนนี้ผมเป็นนายช่างโยธา 5 แล้วมาสอบเปลี่ยนสายงานเป็นนิติกร 5 (1.)ถ้าผมจะเปลี่ยนไปเป็นนายช่างโยธา 5 (เหมือนเดิม) จะต้องสอบเปลี่ยนสายงานอีกไหมครับ (2.)ถ้า เทศบาลมีกรอบสามารถเปลี่ยนสายงานไปเป็นนายช่างโยธา5ได้เลยไหมครับ
สวัสดีค่ะ ปลัด ปรัชา
เรียนถามท่านปลัด ค่ะว่า หากตำแหน่งปลัดอบต.เกษียรอายุราชการ แล้ว ผอ.กองช่าง มารักษาราชการแทน มิทราบว่า ต้องทำหน้าที่เลขานุการสภาฯด้วยหรือไม่ค่ะ
รองปลัดเป็นช่างมาก่อนนายกให้ดูแลกองช่างสามารถทำวานแทนช่างหมด
ติดต่อรับงานแบบ
ถ้ามีคนติดต่อเรื่องขออนุญาตต้องไปหารองปลัดก่อน
มีคนมาติต่อสอบถามข้อมูลด้านอาคารต้องมานั่งมีส่วนร่วมตลอด
ไปตรวจสอบอาคารต้องไปด้วยตลอด
รองปลัดมีอำนาจลักษณะนี้หรือไม่
รองปลัด มีอำนาจ หน้าที่ เหมือนปลัด เท่าที่ปลัด มอบอำนาจครับ นายก อปท. ไม่สามารถมอบหรือให้รองปลัด ดูแลกองช่างได้ครับ เพราะมันเป็นอำนาจเฉพาะตัวของปลัดเท่านั้น สรุปคือ จะดูว่ารองปลัด มีอำนาจอะไรบ้าง ต้องดูจากคำสั่งมอบอำนาจของปลัด นะครับ ส่วนภาระกิจงานอื่นๆ ของกองช่าง ก็เป็นอำนาจ หน้าที่ของ ผอ.กองช่าง และเจ้าหน้าที่กองช่าง ครับ รองปลัดก็ไม่สามารถไปทำแทนเขาได้ จะทำได้ก็แค่กำกับ ดูแล เท่านั้นครับ
ไม่สามารถทำหน้าที่เลขานุการสภาฯ ได้ครับ เพราะเลขาสภาฯ กฎหมายจัดตั้งเขียนไว้ให้เฉพาะ สมาชิกสภา หรือปลัด อบต. เท่านั้น (ข้าราชการอื่นทำไม่ได้)ครับ
นักวิชาการศึกษาสามารถโอนไปเป็นครู ศพด.ได้มั้ยค่ะ มีใบประกอบวิชาชีพครูค่ะ จบ ค.บ. ตอนนี้รับผิดชอบงาน ศพด. และปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสถานศึกษาให้กับ ศพด.ด้วยค่ะ
พนักงานจ้างตามภารกิจ สามารถ เซ็นตรวจสอบงบประมาณ หน้าฎีกา ได้ไหมค่ะ